เครียดมาก! เป็นสิวฮอร์โมน รักษายังไงดี? สิวยุบเร็ว ไม่เป็นหลุม!

สิวฮอร์โมน รักษา

สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) หนึ่งในปัญหาผิวที่พอเริ่มเข้าวัยรุ่นก็บุกขึ้นหน้าเราจนไม่มีที่ว่าง แถมยังเป็นสิวที่ดูเหมือนจะไม่มีวันยอมหายไปจากผิวหน้าของเราสักที! วันนี้หมอตวง Amara Clinic จึงพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสิวฮอร์โมนให้มากขึ้น ว่าสิวชนิดนี้เกิดจากสาเหตุอะไร แล้วทำไมจึงรักษายากกว่าสิวชนิดอื่น ๆ พร้อมคำแนะนำในการรักษาสิว ที่ทำตามแล้วหน้าใสไว สิวหายชัวร์แน่นอนค่ะ!

สิวฮอร์โมน รักษา

สิวแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของ ลักษณะหัวสิว สาเหตุ และผลกระทบหลังจากเกิดสิว ซึ่ง “สิวฮอร์โมน” เป็นสิวที่เกิดจากภาวะความสมดุลของระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุลจนทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนหลั่งออกมามากเกินไป จะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตซีบัม (Sebum) ออกมามากขึ้น เชื้อแบคทีเรียและความมันบนผิวจึงเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดสิวและปัญหารูขุมขนอุดตันตามมาได้ค่ะ

สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไรได้บ้าง

สิวฮอร์โมนแน่นอนว่าตัวการหลักของปัญหา ย่อมมาจากระบบภายในของร่างกาย ซึ่งสิวชนิดนี้เกิดได้ทั้งคนที่เป็นผู้ชายและผู้หญิง โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน มีดังนี้ค่ะ

    • ประจำเดือน
    • การตั้งครรภ์
    • ภาวะความเครียด
    • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic ovary syndrome) 
    • ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงเข้าวัยรุ่น
สิวฮอร์โมน รักษา

5 วิธีรักษาปัญหาสิวฮอร์โมน หน้าเนียนใส ผิวไม่เสีย!

การรับมือกับปัญหาสิวฮอร์โมน ถือเป็นงานยากอย่างหนึ่งของคนที่เป็นสิว เพราะมีขนาดของสิวที่ใหญ่ หายช้า และมักขึ้นในตำแหน่งเดิมซ้ำ ๆ ทำให้คนที่เป็นรู้สึกขาดความมั่นใจ และรู้สึกเครียดกับการรักษาสิวจนเกิดความรู้สึกท้อได้ ใครที่อยากรู้ว่าจริง ๆ แล้วสิวฮอร์โมนสามารถรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง แบบที่สิวยุบจริง ไม่ทิ้งรอยให้กวนใจ! กับ 5 วิธีรักษาสิวฮอร์โมน สิวประจำเดือน ที่ควรทำตาม!

1.รักษาแบบธรรมชาติ

สำหรับคนที่เริ่มมีสิวฮอร์โมนขึ้นมาแต่ยังเป็นไม่มาก สามารถเลือกดูแลผิวได้ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจาก Tea Tree Oil การหมั่นทำความสะอาดหน้าทั้งเช้าและเย็น เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ทำให้ความรุนแรงของสิวทุเลาลง แต่ทั้งนี้การรักษาสิวด้วยวิธีธรรมชาติจะต้องอาศัยความมีวินัยและทำอย่างต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีค่ะ

2. รักษาด้วยยาทา

อีกขั้นหนึ่งของการรักษาสิวฮอร์โมนที่ได้รับความนิยม คือการใช้ยาลดสิวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Tretinoin), ยากลุ่มเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide), ยาปฎิชีวนะเฉพาะที่, กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) การใช้ยาทารักษาสิวเหล่านี้ช่วยให้สิวยุบลงได้เร็วขึ้น ลดอาการอักเสบ แต่ว่าหากใช้มากเกินไปก็ทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้นควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรและแพทย์ผิวหนังทุกครั้ง

3. รักษาสิวด้วยยาทาน

ยาลดสิวแบบทานเป็นยาที่จะช่วยเข้าไปปรับระดับฮอร์โมนภายในร่างกายให้อยู่ในระดับที่สมดุลขึ้น การใช้ยาแบบทานไม่แนะนำให้ซื้อมาทานเอง แต่ควรได้รับการประเมินปัญหาจากแพทย์ผิวหนังก่อน และมีการจ่ายยาโดยแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ซึ่งยารักษาสิวฮอร์โมนแบบทาน นิยมใช้เป็น ยาปฎิชีวนะแบบทาน ยาคุม และยาปรับฮอร์โมน เป็นต้น

4. ทำหัตถการรักษาสิว

สิวฮอร์โมน รักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด คงไม่มีอะไรเร็วไปกว่าการทำหัตถการรักษาสิว เพราะเป็นวิธีที่เข้าไปยับยั้งปัญหาได้ถึงต้นตออย่างรวดเร็ว ผิวที่เคยอักเสบและเป็นสิว จึงกลับมาเรียบเนียน กระจ่างใสขึ้นภายในไม่กี่วัน ซึ่งการทำหัตถการก็มีหลายวิธีด้วยกันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

ที่ Amara Clinic ผิวสวยไร้สิวเป็นไปได้ไม่เกินจริง!!

5. ปรับพฤติกรรมที่ไม่ดี

พฤติกรรมในการใช้ชีวิตของคนเราย่อมนำไปสู่ปัญหาสิวได้ อย่างในเคสของสิวฮอร์โมน มักจะเป็นสิวที่เกิดขึ้นที่เดิมซ้ำ ๆ ดังนั้นการเอามือไปบีบจับหรือแกะ จะยิ่งทำให้ผิวเกิดการอักเสบ ทำให้สิวหายช้าและขึ้นเยอะกว่าเดิมค่ะ นอกจากนี้เรื่องของอาหารก็สำคัญเช่นกัน อย่างคนที่ชอบทานของหวาน ของมัน ของทอด ก็ควรที่จะงดหรือทานให้น้อยลง เพื่อช่วยลดความมันบนใบหน้า และควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

เกร็ดน่ารู้: ตำแหน่งสิวบนหน้า บอกอะไรได้มากกว่าที่คิด

ตำแหน่งของสิวถือเป็นอีกอย่างที่ช่วยบ่งบอกถึงสุขภาพภายในได้ค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันเลยว่าสิวแต่ละตำแหน่งบนใบหน้า กำลังบ่งบอกอะไรกับเราอยู่

    • สิวบนหน้าผาก สื่อถึงระบบย่อยอาหารและการทำงานของกระเพาะปัสสาวะที่มีปัญหา
    • สิวที่หัวคิ้ว สื่อถึงการทำงานของตับที่ไม่ดี 
    • สิวระหว่างใบหู สื่อถึงปัญหาการทำงานของไต
    • สิวบริเวณแก้ม สื่อถึงปัญหาไซนัสและปอด
    • สิวรอบดวงตา สื่อถึงปัญหาภูมิแพ้
    • สิวที่จมูก สื่อถึงโรคหัวใจและระบบสืบพันธ์ุ
    • สิวรอบปาก สื่อถึงความผิดปกติของฮอร์โมน
    • สิวที่คาง สื่อถึงปัญหาของระบบย่อยและขับถ่าย
    • สิวบริเวณคอและหน้าอก สื่อถึงปัญหาความเครียด

แม้ว่าสิวจะช่วยบอกปัญหาภายในได้ แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช้เป็นการวินิจฉัยโรคได้แบบ 100% ดังนั้นการมาพบแพทย์ผิวหนังและตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญ

แนวทางป้องกันไม่เกิดปัญหาสิวซ้ำซาก

สำหรับการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นสิวซ้ำซาก สามารถเริ่มทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนนี้ได้เลยค่ะ

  1. ทำความสะอาดผิวหน้า อย่างแรกเลยคือการหมั่นทำความสะอาดผิวอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่รุนแรงต่อผิว เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ค่ะ 
  2. บำรุงผิวให้แข็งแรงด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์ ไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าแห้งกรานหรือสูญเสียน้ำ เพราะจะทำให้ผิวเกิดสิวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการหมั่นเติมน้ำให้ผิวจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  3. ไม่จับหรือบีบสิว มือของเราเป็นส่วนที่มีเชื้อโรคสะสมเยอะ ดังนั้นการเอามือไปบีบสิวจะยิ่งเป็นกระตุ้นให้เกิดสิวมากขึ้น 
  4. ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพผิว ควรเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วย วิตามิน C, คอลลาเจน และน้ำมันตับปลา เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผิวและสุขภาพภายใน (เสริมสร้างอาหารผิวให้ร่างกายเร่งด่วนต้องรู้จัก…ดริปวิตามินผิว)
  5. พบแพทย์ผิวหนัง การเข้ามาพบแพทย์ผิวหนังเป็นประจำ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงสภาพผิวหนังของเราได้ดีขึ้น อีกทั้งยังได้รับการดูแลปัญหาสิวที่ถูกต้อง ทำให้สิวหายเร็ว และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกค่ะ

สรุป

        เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับบทความเรื่องสิวในวันนี้ หมอหวังว่าทุกคนจะได้ทราบกันแล้วนะคะว่า หากเราเป็นสิวฮอร์โมน รักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง? แน่นอนว่าแต่ละคนก็ล้วนใช้เวลาในการรักษาที่ต่างกันไปตาม ความรุนแรงของสิว สภาพผิวหนัง และวิธีที่เลือกทำ แต่ทั้งนี้ใครที่อยากสิวหายเร็ว ๆ โดยไม่ทิ้งรอยดำรอยแดงไว้ให้กวนใจ สามารถเข้ามารับคำปรึกษาหรือแก้ไขปัญหานี้กับหมอตวงได้ที่ Amara Clinic ค่ะ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!


แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง

พญ.ภคกมล ตุ้มสุทธิ (หมอตวง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


    ใส่ความเห็น