อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งถือว่าเป็นปัญหายอดฮิตของคนหนุ่ม-สาวที่ต้องทำงานออฟฟิศ นั่งหน้าคอมและอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หลายคนอาจมองข้าม และอาจจะมองว่าแค่นวดก็หาย แต่ก็ยังคงมีพฤติกรรมการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสมอยู่แบบเดิม นานวันเข้า อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ก็ยิ่งเป็นเรื้อรังจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงอาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ด้วยค่ะ วันนี้หมอมะปรางมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอาการปวดคอ บ่า ไหล่มาบอกเล่าในบทความของ Amara Clinic กันค่ะ ทั้งสาเหตุว่าอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากอะไรได้บ้าง ปวดแบบไหนที่เรียกว่าอันตราย เราจะมีวิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างไร และวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรม หรืออาการปวดคอ บ่า ไหล่ ด้วยเทคโนโลยีตัวใหม่ที่หมอได้นำเข้ามาใช้ พร้อมประสบการณ์ตรงจากคนไข้ที่ได้ทำการรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ที่คลินิกเราค่ะ
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ กระดูกต้นคอที่เสื่อมจากอายุที่มากขึ้น, การใช้งานกล้ามเนื้อหนัก ๆ เป็นระยะเวลานานหลายปีติดต่อกัน ที่มักจะพบได้บ่อยในบางอาชีพที่ต้องใช้แรงกายทำงานหนัก, อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายหลัง, จากอาการอักเสบในผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคข้อกระดูก หรือสาเหตุจากพฤติกรรมที่ส่งผลให้อยู่ในอิริยาบทที่ผิดท่วงท่า หรืออยู่ในท่วงท่าเดิม ๆ นาน ๆ เช่น การนอน การนั่ง ที่ผิดท่า, การก้มคอบ่อย ๆ, การนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ค่ะ
สำหรับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม จัดอยู่ในประเภทกลุ่มอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งมีความรู้สึกแบบปวดเมื่อย ปวดแบบล้า ที่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเฉพาะส่วน เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ ซึ่งเป็นบริเวณกว้างและอยู่ใกล้เคียงกัน โดยบางครั้งอาจมีอาการปวดลามไปถึงบริเวณอื่น ๆ เช่น ปวดหลังส่วนล่าง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุของปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากการที่เราอยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน บางคนเป็นในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก ปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อย แต่บางคนถึงกับมีอาการปวดแบบรุนแรงชนิดที่ว่าทรมานมาก ๆ ก็มีค่ะ และหากปล่อยไว้นาน ๆ จนไม่ได้รับการดูแลรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เป็นอยู่ ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะที่รุนแรง หรือกลายเป็นโรคร้ายแรงตามมาได้ค่ะ
ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดตรงไหนบ้าง เช็คเลย!
หลายคนที่เพิ่งจะเริ่มมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรืออาจเป็นมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว บางคนอาจสงสัยว่า อาการปวดแต่ละตำแหน่งสังเกตอย่างไร มีอาการจากตรงไหนถึงตรงไหนบ้าง เดี๋ยวเราลองมาเช็คอาการปวดคอ บ่า ไหล่ไปแต่ละส่วนพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
อาการปวดคอ
อาการปวดตำแหน่งแรกคือ บริเวณคอหรือต้นคอ จะสังเกตได้ว่ามีอาการปวดตั้งแต่ท้ายทอย (ด้านหลังต้นคอ) ลงมาและไล่มาจนถึงบริเวณต้นคอ ก่อนที่จะถึงบริเวณบ่า ส่วนอาการมีได้หลายแบบ ตั้งแต่อาการปวดเมื่อยแบบธรรมดา ยังสามารถขยับต้นคอได้ปกติ ส่วนอาการปวดเกร็งหรือเคล็ด มักจะขยับหันคอได้ลำบาก มีอาการปวดมาก ๆ ยกตัวอย่าง เวลาที่เรานอนตกหมอนนั่นเองค่ะ ซึ่งทั้ง 2 อาการปวดนี้ถือว่าเป็นอาการที่พบได้ปกติ โดยสามารถจับบีบนวดเบา ๆ และหยุดพักกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนต้นคอไปสักระยะก่อน จากนั้นอาการจะค่อย ๆ บรรเทาลงค่ะ
อาการปวดบ่า
สำหรับอาการปวดบ่า จะเป็นการปวดบริเวณระหว่างต้นคอและหัวไหล่ บางรายอาจรู้สึกหนัก ๆ ที่บ่า หรือรู้สึกว่าปวดตึง ๆ ปวดเมื่อย ซึ่งเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน หรือเกิดจากการนั่งผิดท่า นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ นั่งพิมพ์งาน ซึ่งหากเป็นอาการปวดเมื่อยธรรมดา เพียงแค่ปรับเปลี่ยนอิริยาบท นั่งให้ถูกท่า หรือบริหารร่างกายระหว่างการทำกิจกรรม หรือการทำงาน ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ค่ะ
อาการปวดไหล่
อาการปวดที่ไหล่ จะมีลักษณะปวดตึงที่บริเวณส่วนโค้งของไหล่ ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างบ่าและแขนค่ะ บางรายอาจมีความรู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ แปลบ ๆ และเมื่อขยับไหล่จะยิ่งรู้สึกเจ็บ และขยับได้ลำบาก ซึ่งอาการปวดไหล่ก็เป็นจุดที่ใกล้เคียงกันกับต้นคอและช่วงบ่า จึงทำให้มักมีอาการร่วมกันทั้ง 3 บริเวณ นั่นก็คือ ปวดคอ บ่า ไหล่ นอกจากจะเกิดกับคนที่ทำงานออฟฟิศแล้ว ในกรณีที่ยกของหนัก ๆ หรือเล่นกีฬาที่ต้องขยับหัวไหล่และแขน ก็มักมีปัญหาปวดไหล่ได้เช่นเดียวกันค่ะ
ใคร ๆ ก็เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ไม่ใช่แค่พนักงานนั่งโต๊ะ!
นอกจากอาชีพพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานาน ๆ แล้ว ยังมีอาชีพอื่น ๆ ที่เสี่ยงกับการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้เหมือนกัน เช่น อาชีพที่ต้องยกของหนัก ๆ ที่อาจขยับหรือเอี้ยวตัวยกของผิดท่า, คนขับรถ ที่ต้องนั่งอยู่กับที่นาน ๆ จับพวงมาลัย เหยียบเบรค เหยียบคันเร่งทั้งวัน หรือนักกีฬา เนื่องจากต้องมีการออกแรงกล้ามเนื้อส่วนซ้ำ ๆ มากเกินไป
บทความอื่นที่น่าสนใจ
- สาว ๆ ที่อยากมีผิวขาวกระจ่างใส ต้องอ่าน! กินคอลลาเจน ตอนไหนดี
- เรียนรู้กับทฤษฎีทากันแดด 2 ข้อนิ้ว และความแตกต่างของ 2 ข้อนิ้ว VS 2 นิ้วมือ ได้ที่ ทากันแดด 2 ข้อนิ้ว
ปวดคอ บ่า ไหล่ แบบไหนที่เรียกว่า “อันตราย”
อย่างที่หมอได้อธิบายไปในข้างต้นนะคะว่า อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หากเป็นลักษณะอาการปวดเมื่อยธรรมดา ไม่มีอาการข้างเคียงอื่น ๆ เพิ่ม เราสามารถใช้การบีบนวด การเปลี่ยนอิริยาบท การปรับท่าทางให้ถูกต้อง หรือการบริหาร เพื่อพักกล้ามเนื้อระหว่างวันได้ ก็จะทำให้อาการปวดที่มีบรรเทาลง แต่ก็อย่าชะล่าใจเด็ดขาดเลยค่ะ เพราะอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สามารถเป็นอันตรายร้ายแรงได้ หากปล่อยทิ้งไว้แบบเรื้อรัง ไม่รักษาออฟฟิศซินโดรม และไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น อาการไหล่ติด, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อมค่ะ
สำหรับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ที่เป็นอันตราย จะมีอาการปวดร้าวลงมาที่แขน หรือมีอาการชาที่แขนร่วมด้วย มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มีอาการเจ็บที่รุงแรงยิ่งขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ กดที่ปวดแล้วเจ็บรุนแรง หรือแม้กระทั่งมีอาการอ่อนแรง หมอแนะนำให้พบแพทย์ทางด้านกระดูกและข้อ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการยิ่งรุนแรงขึ้นได้ค่ะ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
- รอยแตกที่ผิว อุปสรรคสำคัญของผิวสวย แต่มีวิธีที่ช่วยรักษารอยแตกลายอย่างเห็นผลแล้ว! อ่านเพิ่มเติม รอยแตกลาย
- เครื่องเลเซอร์ขนมีหลากหลายแบบ ต้องเลือกแบบไหนที่เหมาะกับเรา หาคำตอบได้ที่ เลเซอร์ขนมีกี่แบบ
ปวดคอ บ่า ไหล่ ป้องกันได้
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรืออาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม เราสามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยตัวเองค่ะ หรือบางคนที่ยังไม่มีอาการของออฟฟิศซินโดรม แต่ยังจำเป็นต้องทำงานนั่งโต๊ะ หรือทำอาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้อยู่ หมอแนะนำให้เราเริ่มดูแลตัวเอง รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่อาจจะมาเยี่ยมเยียนได้ทุกเวลา และลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายตามมาในอนาคตค่ะ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ให้อยู่ในท่วงท่าที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การนอน การนั่ง และท่าเดิน
- หมั่นเปลี่ยนอิริยาบทบ่อย ๆ ไม่นั่งในท่าเดิมนาน ๆ และบริหารร่างกายในระหว่างพักเบรคระหว่างวันทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับตำแหน่งโต๊ะและเก้าอี้ให้อยู่ในระดับที่พอดี ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงและที่วางแขน ปรับท่านั่งให้หลังตรง นั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น และวางฝ่าเท้ากับพื้นให้เต็มเท้า
- หาเวลาว่างในการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 วัน ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีต่อวัน
รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ง่าย ๆ เพียง 30 นาที
หากเริ่มสังเกตได้ว่าเรากำลังมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ อยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นแบบปวดเมื่อย แต่หมอก็อยากแนะนำให้เข้ามาปรึกษาเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ค่ะ เพราะตอนนี้ทาง Amara Clinic มีเทคโนโลยีที่จะช่วยบำบัดโรคออฟฟิศซินโดรม ด้วยเครื่อง TESLA Former (ในโหมดกายภาพบำบัด) ซึ่งจะอาศัยหลักการของพลังงานคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็ก หรือ Functional Magnetic Stimulation (FMS) ที่จะช่วยไปกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องการรักษา ให้เกิดการหดเกร็งและคลายตัว ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการผ่อนคลาย ลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และอาการปวดต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคออฟฟิศซินโดรมค่ะ
“คุณมุก” รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากโรคออฟฟิศซินโดรม
คุณมุก เป็นคนไข้ของหมอที่มาปรึกษาเรื่องอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม โดยคุณมุกเคยใช้วิธีการนวดเพื่อผ่อนคลายและบรรเทาอาการมาแล้ว แต่สักพักอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม คุณมุกจึงตัดสินใจเข้ามารักษาด้วยเครื่อง TESLA Former ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ค่ะ
ซึ่งในการทำ TESLA Former 1 ครั้ง จะใช้เวลาเพียง 30 นาที ไม่ต้องถอดเสื้อผ้า ซึ่งจะมีการวางอุปกรณ์นาบลงบริเวณที่ต้องการรักษาออฟฟิศซินโดรม คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บเลยค่ะ เพียงแต่จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อได้รับการกระตุ้นเป็นจังหวะ โดยหลังการรักษาเสร็จก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องพักฟื้นใด ๆ สำหรับจำนวนครั้งที่ทำการรักษา หมอแนะนำให้ทำ 8-10 ครั้งขึ้นไป เพื่อให้ผลการรักษาออฟฟิศซินโดรม รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่มีประสิทธิภาพค่ะ
หลังจากรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรืออาการจากโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว คุณมุกบอกว่าใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างแฮปปี้ขึ้นมาก อาการปวดคอ บ่า ไหล่ที่เคยเป็นก็บรรเทาลงไปมาก โดยหมอยังแนะนำให้คนไข้ดูแลตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องค่ะ ทั้งการปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานให้ถูกต้อง หมั่นเปลี่ยนอิริยาบทบ่อย ๆ และพักเบรคจากงานทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดคอ บ่า ไหล่ กลับมาได้อีกนั่นเองค่ะ
สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> TESLA Former
บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุป
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังรบกวนการทำงานของเราอีกด้วย ซึ่งอาจส่งให้เราทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจต้องแลกมาด้วยโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้นะคะ ดังนั้น หมอจึงอยากให้ทุกคนหมั่นตรวจเช็คร่างกาย ดูแลตัวเอง ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงเข้ารับการรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และรักษาออฟฟิศซินโดรม เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีสมวัยค่ะ สำหรับใครที่สนใจสามารถปรึกษาแพทย์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยนัดคิวพบแพทย์ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างได้เลยค่ะ