ทำความรู้จักโครงสร้างผิวหนังและปัญหาที่พบบ่อย

โครงสร้างผิวหนัง

ทุกคนย่อมมีปัญหาเรื่องผิว ไม่ว่าจะเป็นผิวหย่อนคล้อย ผิวแห้ง ผิวขาดคอลลาเจน ผิวที่มีริ้วรอย หน้าเป็นกระ ฝ้าขึ้น รอยดำ รอยแดง สิว และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทุกปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ย่อมมีที่มาที่ไปอยู่แล้วค่ะ วันนี้หมอจะมาอธิบายเรื่องของโครงสร้างผิวหนังให้อ่านกัน ว่าในผิวหนังของเรามันประกอบไปด้วยชั้นอะไรบ้าง โครงสร้างผิวหนังแต่ละชั้นมีหน้าที่อะไร เมื่อชั้นผิวดังกล่าวมีปัญหา สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคืออะไร? รวมไปถึงการยกกรณีตัวอย่างของปัญหาผิว พร้อมสาเหตุ และวิธีการรักษามาฝากกันด้วยนะคะ – หมอตวง Amara Clinic

โครงสร้างผิวหนัง

โครงสร้างผิวหนังประกอบด้วยอะไรบ้าง?


หมอเชื่อว่ามีหลายคนที่รู้จักโครงสร้างผิวหนังเพียงผิวเผิน หรือรู้จักเพียงแค่ชื่อชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ และชั้นไขมันใต้ผิวหนัง แต่ไม่รู้ว่ารายละเอียดของแต่ละชั้นว่าเป็นอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีหน้าที่อะไร? เดี๋ยวในหัวข้อนี้หมอมาอธิบายรายละเอียดของโครงสร้างผิวหนังแต่ละชั้นให้อ่านกันค่ะ นอกจากนี้ ในท้ายบทความหมอก็จะมีอธิบายเรื่องโครงสร้างอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ชั้นผิวหนังของเราด้วยนะคะ ใครที่อยากรู้อย่าลืมอ่านให้จบนะคะ^^

ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)

ชั้นหนังกำพร้าจะอยู่ด้านบนสุดของโครงสร้างผิว เป็นชั้นที่มีทั้งเซลล์เก่าและเซลล์ใหม่เกิดขึ้น ซึ่งเซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะเกิดอยู่ล่างสุดของชั้นหนังกำพร้าที่ติดกับชั้นหนังแท้ พอมีเซลล์ใหม่เกิดขึ้นจากด้านล่าง เซลล์เก่าก็จะถูกดันตัวขึ้นมาที่ชั้นบนสุด เซลล์เก่าที่สุดนี่แหละค่ะมันกลายมาเป็นขี้ไคลบนผิวหนังของเรา แล้วค่อย ๆ หลุดลอกออกไปตอนที่เราอาบน้ำ หรือสครับผิว ทั้งนี้ในโครงสร้างผิวหนังชั้นหนังกำพร้านั้น จะมีเม็ดสีเมลานินที่เป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีสีผิวที่แตกต่างกันอยู่ด้วย 

ในชั้นหนังกำพร้าจะมีเซลล์ที่สำคัญหลัก ๆ อยู่ 3 ชนิด คือคีราติโนไซต์ (Kerationcytes) หรือเซลล์ผิวหนัง, เมลาโนไซต์ (Melamocytes) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิวเมลานิน และเซลล์ชนิดสุดท้ายคือแลงเกอร์ฮานส์ (Langerhans Cells) หรือเซลล์ภูมิคุ้มกัน ที่คอยปกป้องผิวของเราจากเชื้อโรคต่าง ๆ

โครงสร้างผิวหนัง

ขอบคุณภาพประกอบจาก : lesliebaumannmd

5 โครงสร้างผิวหนังชั้นย่อย ในชั้นหนังกำพร้า

  1. Stratum Corneum หรือ Horny Layer อยู่ชั้นนอกสุด มีหน้าที่ในการปกป้องผิวหนังของเราไม่ให้มลภาวะภายนอกเข้ามาทำลาย อีกทั้งยังเป็นเกราะที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังของเราด้วย เซลล์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในชั้นนี้จะเป็นเซล์ผิวหนังที่ตายแล้ว หรือที่เรารู้จักกันว่าขี้ไคลนี่แหละค่ะ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจะมีลักษณะแบนราบเรียงตัวขนาดกันกับผิว และไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้
  2. Statum Licidum หรือ Transparent Layer เซลล์ผิวในชั้นนี้จะอัดตัวกันอย่างแน่นหนา และไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้ โดยมักจะพบบ่อยในบริเวณที่มีผิวหนา ๆ อย่างเช่นอุ้งมือ หรืออุ้งเท้า
  3. Stratum Granulosum หรือ Granular Layer เซลล์ผิวหนังในชั้นนี้จะทำหน้าที่ประสานเซลล์ให้ยึดติดกัน โดยการสร้างไกลโคลิพิด (Glycolipids) ที่ประกอบด้วยไขมันและคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สะท้อนแสงทำให้ผิวดูสว่างกระจ่างใสขึ้น และเป็นชั้นที่เริ่มมีการผลัดเซลล์ผิวอีกด้วย
  4. Stratum Spinosum หรือ Malpighian Layer ชั้นผิวหนังในชั้นนี่จะหนาที่สุด ประกอบด้วยคีราติโนไซท์ (Kerationcytes)  และเซลล์เดนดริติก (Dendritic Cells) โดยจะมีหน้าที่ในการปกป้องผิว ไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ผิวหนังของเรา
  5. Stratum Basale หรือ Basal Layer ชั้นนี้จะเป็นชั้นที่อยู่ลึกสุดของโครงสร้างผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ผลิตเซลล์ผิวหนังใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ  และดันเซลล์ผิวหนังขึ้นไปสู่ชั้นอื่น ๆ ด้านบน 

ชั้นหนังแท้ (Dermis)

ชั้นหนังแท้เป็นโครงสร้างผิวหนังที่มีความหนาและความยืดหยุ่นสูง ประกอบไปด้วยโปรตีนหลัก 2 ชนิด คือคอลลาเจน (Collagen) ที่ช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและสร้างความแข็งแรงให้กับผิว และอีลาสติน (Elastin) ที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในกับผิวหนังของเรา นอกจากนี้ ในชั้นหนังแท้ยังมีเส้นเลือด หลอดเลือด เส้นประสาท ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน และรูขุมขนอยู่ด้วย โดยชั้นหนังแท้จะประกอบด้วย 2 ชั้นย่อย ดังนี้

  1.  Papillary Layer มีขอบเหมือนคลื่นกันระหว่างชั้นหนังกำพร้ากับชั้นหนังแท้ หลัก ๆ ในชั้นนี้จะเป็นคอลลาเจน อีลาสติน และ Ground Substances ที่ประกอบไปด้วยเกลือแร่ น้ำ และ Glycoaminoglycans โดยจะมีหน้าที่กักเก็บน้ำ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เนียนนุ่ม
  2.  Reticular layer ชั้นนี้จะอยู่ลึกลงไปอีก ประกอบไปด้วยหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน เส้นประสาท รากขน ต่อมกลิ่น และเนื้อเยื่ออื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด และเกี่ยวข้องกับการดูแลการอักเสบของผิวหนัง 
โครงสร้างผิวหนัง

ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous)

ชั้นใต้ผิวหนังจะมีเซลล์ไขมันอาศัยอยู่เป็นหลัก ทำให้บางคนเรียกว่าชั้นไขมันใต้ผิวหนังนั้นเอง ซึ่งแต่ละคนจะมีความหนาแน่นของชั้นไขมันไม่เหมือนกัน โดยในเพศชายจะมีการอัดแน่นของเซลล์ไขมันมากกว่าเพศหญิง หน้าที่ของชั้นนี้คือการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเรา และช่วยลดแรงกระแทกได้ดี ซึ่งบริเวณไหนที่มีเซลลูไลท์ (เนื้อเยื่อไขมันที่คล้ายพังผืด) อาศัยอยู่ จะทำให้ผิวบริเวณนั้นเป็นคลื่นไม่เรียบเนียน เพราะมีการดึงรั้งจากภายใน

โครงสร้างอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับผิวหนัง


ไฮโดรไลปิด ฟิล์ม (Hydrolipid film)

ไฮโดรไลปิดฟิล์มเป็นเกราะที่ช่วยปกป้องผิวจากธรรมชาติ (ค่า pH 5.5) เป็นเหมือนฟิลม์บาง ๆ เคลือบอยู่ที่โครงสร้างผิวหนังชั้นบนสุด ช่วยปกป้องไม่ให้น้ำระเหยออกจากผิว คงความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และปกป้องผิวจากมลภาวะภายนอก นอกจากนี้ ยังอยู่ร่วมกันกับเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Microflora) ที่คอยยั้บยั้งไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย และสารให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวตามธรรมชาติ (Natural Moisturizing Factors)

ขน

เส้นขนก็เป็นอะไรที่มีความเชื่อมต่อกับโครงสร้างผิวหนังของเราอยู่เยอะนะคะ ซึ่ง 90% ของเส้นขนคือเคราติน หรือเส้นใยโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง รากขนจะเจริญเติบโตขึ้นมาจากรูขุมขนในชั้นหนังกำพร้า โผล่ทะลุชั้นผิวขึ้นมา และสร้างความน่ารำคาญให้กับเรา จนเราต้องไปเลเซอร์ขนออกนี่เอง

ต่อมเหงื่อ (Sweat Glands)

ต่อมเหงื่อนมีหน้าที่ในการหลั่งเหงื่อ หรือสารคัดหลังที่ประกอบไปด้วยน้ำออกจากร่างกายเพื่อระบายความร้อน จริง ๆ เหงื่อที่ออกจากร่างกายจะมีกลิ่นเป็นกลาง แต่ที่ทำให้กลิ่นเหงื่อของคนเราไม่เหมือนกันเป็นเพราะแบคทีเรียบนผิวหนังของแต่ละคนค่ะ

ปัญหาผิวหนังที่หลาย ๆ คนมักจะเจอ


เราก็ได้ทำความรู้จักกับโครงสร้างผิวหนังไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ หมอเลยจะมาเล่าถึงปัญหาผิวที่หลาย ๆ คนมักจะเจอกันเป็นประจำ หลัก ๆ ก็คือผิวที่ขาดความกระชับ ขาดความชุ่มชื้น จนทำให้เกิดริ้วรอยขึ้นมา ซึ่งถ้าเป็นหนักมาก ๆ ก็จะกลายเป็นผิวย้วยที่ยากจะคืนสภาพเดิม และปัญหาเรื่องของไขมันที่อยู่ใต้ชั้นผิวของเราค่ะ มาดูกันว่าปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีใด

โครงสร้างผิวหนัง

ผิวหย่อนคล้อย และริ้วรอยตื้นลึก

ผิวหย่อนคล้อยเกิดจากการที่ผิวหนังของเราขาดความชุ่มชื้น ขาดคอลลาเจนและอีลาสติน โดยปกติทั่วไปแล้วหลังจากที่อายุเกิน 25 ปี ผิวของเราจะผลิตคอลลาเจนน้อยลงไปทุกปี ๆ ค่ะ นอกจากเรื่องอายุก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลกระทบให้ผิวของเราขาดความชุ่มชื้นเต่งตึงได้ด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำน้อย ฯลฯ

โครงสร้างผิวหนัง

สำหรับใบหน้าของเราจะเห็นได้ว่าเริ่มมีริ้วรอยตื้นลึกเกิดขึ้น ตีนกาเริ่มมาเยือน รอยพับ และร่องลึกเริ่มมากขึ้นทุกวัน วิธีลดริ้วรอยบนใบหน้า หรือการทำให้ใบหน้ากลับมาเต่งตึงกระชับสวยมีอยู่ 2 ทางค่ะ ทางแรกก็คือการยกกระชับด้วยโปรแกรม Ultraformer III (เห็นผลดีกว่า HIFU 5 เท่า) และการฉีดสารเติมเต็มเข้าไปค่ะ ซึ่งสารเติมเต็มนี้เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นการเติมไขมันเข้าไป (ไขมันของตัวคนไข้เอง) หรือจะฉีดสารเติมเต็มที่สร้างมาเลียนแบบสารในร่างกายอย่างโปรแกรมฟิลเลอร์ (Filler) ก็ได้ค่ะ

โครงสร้างผิวหนัง

และสำหรับคนที่มีปัญหาผิวหย่อนคล้อยหนัก ๆ ที่บริเวณลำตัว หมออยากจะแนะนำให้รู้จักกับเครื่งกระชับผิวที่ชื่อว่าโปรแกรม J Plasma ตัวนี้จะใช้พลังงาน Helium Plasma และ Radio frequency ในการสร้างความร้อนที่สูงถึง 85 องศา ส่งตรงไปยังเส้นใยที่ทำหน้าที่ยึดผิวจากภายใน ทำให้เส้นใยนั้นหดตัวลงในทันที ผิวก้จะกระชับเต่งตึงขึ้นตอนนั้นเลยค่ะ อันนี้จะเป็นการผ่าตัดเปิดแผลสอดท่อพลังงานเข้าไปยกกระชับนะคะ แน่นอนว่าเห็นผลชัด และยกกระชับได้ดีกว่าการใช้ความร้อนจากภายนอกค่ะ

โครงสร้างผิวหนัง

ชั้นไขมันหนาเกินไป

สำหรับคนที่มีชั้นไขมันหนาเกินไป มักจะเป็นคนอ้วนค่ะ สำหรับการสะสมของไขมันส่วนเกินนี้ ไม่ว่าคุณจะผอมหรืออ้วนก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้หมด ไขมันที่สะสมเพิ่มขึ้นทุกวันเกิดจากการที่เรากินอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งไขมันก็คือพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญออกไม่หมด มันเลยต้องไปสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา เหนียง ฯลฯ นั่นเองค่ะ เราสามารถกำจัดไขมันส่วนเกินนี้ได้โดยการออกกำลังกาย หรือถ้าเป็นทางลัดที่เห็นผลชัดต้องยกให้การทำหัตถการดูดไขมันค่ะ

ตัวอย่างเคสดูดไขมัน

สรุป

          สรุปแล้วโครงสร้างผิวหนังของเราจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้นหลัก ๆ คือชั้นหนังกำพร้าที่คอยปกป้องผิว ชั้นหนังแท้ที่คอยให้ความกระชับยืดหยุ่น และชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายนะคะ ปัญหาผิวต่าง ๆ เกิดจากการที่เซลล์บางอย่างในชั้นผิวหนังแต่ละชั้นผิดปกติ ไม่ว่าจะมีน้อยเกินไป หรือมีมากจนเกินไปก็ตาม ถ้าใครรู้สึกว่าอยากให้ผิวหน้าเป๊ะผิวตัวปังขึ้นแบบรวดเร็ว ไม่ใช่การทาครีมบำรุงที่รอผลลัพธ์นานหลายเดือน สามารถเข้ามารับคำปรึกษากับหมอที่ Amara Clinic ได้นะคะ ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำการรักษาที่เหมาะสมให้ค่ะ


แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง

พญ.ภคกมล ตุ้มสุทธิ (หมอตวง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


    ใส่ความเห็น